กศน....อำเภอกำแพงแสนยินดีต้อนรับครับ...เมืองเก่าโบราณ สถานผลิตนักบินประเทศ แหล่งบัณฑิตการเกษตร เขตพื้นดินเนื้อดี อนุสาวรีย์อินทรศักดิ์ศจี ปฐมพีแห่งความร่มเย็น....

สาระน่ารู้

วิธีเรียนแบบทางไกล
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มี  3  รูปแบบ  คือ

                                1.  การศึกษาวิธีเรียนพบกลุ่ม  เน้นหนักการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก  มีการพบกลุ่มเพื่อนำสิ่งที่ได้ไปศึกษาค้นคว้า  แล้วมานำเสนอ อภิปราย  และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                                2.  การศึกษาวิธีเรียนทางไกล  เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกล  ได้แก่  ชุดการเรียนทางไกล  CD  VCD  รายการทางวิทยุและโทรทัศน์  Internet   เป็นต้น
                                3.  การประเมินเทียบระดับการศึกษา  เป็นการประเมินจากความรู้  ทักษะ  ผลงาน  ประสบการณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน  โครงงาน  การสอบ  ปฏิบัติ  สัมภาษณ์  และทำกิจกรรมเข้าค่ายหรือกิจกรรม กพช. (กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต)






.............................................................................




การศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐาน วิธีเรียนทางไกล
กศน.อำเภอกำแพงแสน สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม

โดย กศน.อำเภอกำแพงแสน

                การศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐาน วิธีเรียนทางไกล  เป็นการจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน   ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544    ของกระทรวงศึกษาธิการ    
วิธีเรียนทางไกล  เป็นการเรียนรู้โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกล  ได้แก่  ชุดการเรียนทางไกล  วิทยุ  โทรทัศน์  เป็นต้น   โดยนักศึกษาจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาในการเรียน   มีการสอนเสริมในหมวดวิชาที่ยาก  มีการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)  และสอบวัดผลการเรียนปลายภาคเรียน

ระดับที่เปิดสอน
            1)  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (เทียบได้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
            2)  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  (เทียบได้กับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)

หลักสูตร 
โครงสร้างหลักสูตรทุกระดับ  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  คือ                
            1)  กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน  จำนวน  4  หมวดวิชา  ประกอบด้วย     
                     -  หมวดวิชาภาษาไทย
                     -  หมวดวิชาคณิตศาสตร์
                     -  หมวดวิชาวิทยาศาสตร์
                     -  หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ  (ภาษาอังกฤษ)
          2)  กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์  จำนวน  4  หมวดวิชา  ประกอบด้วย        
                     -  หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน   ประกอบด้วยวิชาศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  
                        หน้าที่พลเมืองและการดำเนินชีวิตในสังคม  เศรษฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์  และ
                        ภูมิศาสตร์
                     -  หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1   ประกอบด้วยวิชาพลศึกษา  และสุขศึกษา 
                     -  หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2  ประกอบด้วยวิชาศิลปะ  ดนตรี  และนาฏศิลป์  
                     -  หมวดวิชาพัฒนาอาชีพ   ประกอบด้วยวิชาอาชีพและเทคโนโลยี

       สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องเลือกลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาเพิ่มเติม  เพื่อที่จะใช้สอบตามคณะหรือสาขาวิชากำหนดด้วย   ได้แก่ 
          ภาษาไทยเพิ่มเติม                       
          คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 
          วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม 
          ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

ระยะเวลาในการเรียน
            1.  ใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน  หรือ 2 ปี  โดยลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา
            2.  ใช้เวลาเรียนน้อยกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี  โดยมีการเทียบโอนผลการเรียน
            3.  ใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี  โดยลงทะเบียนน้อยกว่า ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา  
                   หรือสอบไม่ผ่านบางหมวดวิชา ต้องเรียนใหม่

การลงทะเบียนเรียน
1.  การลงทะเบียนเรียนปกติ ได้ 2 หมวดวิชา  คือ
-  หมวดวิชาพื้นฐาน 1 หมวดวิชา
      -  หมวดวิชาประสบการณ์ 1 หมวดวิชา
2.  การลงทะเบียนเรียนเพิ่ม  ได้ 1 หมวดวิชา  ในกรณี...
                -  หมวดวิชาที่สอบไม่ผ่าน                                                                                              
-  หมวดวิชาเพิ่มเติม  (เฉพาะมัธยมศึกษาตอนปลาย)
คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.  สัญชาติไทย  

            2.  พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ  หรืออายุ 16 ปี ขึ้นไป
            3.  ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน

หลักฐานการสมัคร
            1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา 
            2. หลักฐานการศึกษา ฉบับจริงและสำเนา 2 ฉบับ  (ใบ รบ.หรือใบประกาศนียบัตร)
       3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  1 ฉบับ
       4. สำเนาทะเบียนบ้าน  1 ฉบับ      
            5. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป   (เสื้อมีปก ถ่ายหน้าตรงไม่สวมแว่นตาและหมวก)
            6. ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล  1 ฉบับ  (กรณีชื่อ/นามสกุลไม่ตรงกับหลักฐานการศึกษา)

ค่าใช้จ่ายในการเรียน

          ไม่ต้องเสียค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน  (เรียนฟรี)         

    
วันรับสมัครเรียน
            ภาคเรียนที่ 1  วันที่ 1 – 30 เมษายน
            ภาคเรียนที่ 2  วันที่ 1 – 31  ตุลาคม

                 วันเปิดภาคเรียน

            ภาคเรียนที่ 1   วันที่  16 พฤษภาคม       

          ภาคเรียนที่ 2   วันที่  1 พฤศจิกายน

วิธีเรียนทางไกล
            1.  เรียนด้วยตนเอง   
           -  ชุดการเรียนทางไกล  และสื่ออื่น ๆ  รายการวิทยุ-โทรทัศน์  CD  VCD  ฯลฯ
                 -  ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา
            2.  เข้าร่วมกิจกรรมเสริมการเรียนรู้  
                 -  การสอนเสริม (หมวดวิชาที่กำหนด)
                 -  กิจกรรมอื่น ๆ ที่สถานศึกษากำหนด
         3.  การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต   (ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง)
                 -  กิจกรรมระหว่างเรียน  ไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง 
                 -  การสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตก่อนจบหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง
         4.  เข้าร่วมสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตก่อนจบหลักสูตร
                 -  ประเมิน กพช.  (ไม่น้อยกว่า  20 ชั่วโมง)
                 -  ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                 -  ประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน
         5.  เข้าสอบวัดผลการเรียน
                 -  สอบปลายภาคเรียน
                 -  สอบซ่อม  (ได้ 1 ครั้ง  กรณีที่สอบปลายภาคเรียนไม่ผ่าน) 

การประเมินผลการเรียน
             1.  ประเมินผลการสอบปลายภาคเรียน
                 -  สอบได้คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป  ได้เกรด 1 4  เท่ากับ  ผ่าน
                 -  สอบได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50  ได้เกรด 0  เท่ากับ ไม่ผ่าน  มีสิทธิสอบซ่อม
              2.  ประเมินผลการสอบซ่อม
                 -  สอบได้คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป  ได้เกรด 1 เท่ากับ  ผ่าน
                 -  สอบได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50  ได้เกรด 0  เท่ากับ ไม่ผ่าน
                 ผู้ไม่เข้าสอบปลายภาค  ไม่มีสิทธิสอบซ่อม

การสอบปลายภาคเรียน  
            ภาคเรียนที่ 1  
              สอบปลายภาคเรียน เดือนกันยายน
              สอบซ่อม เดือนตุลาคม
            ภาคเรียนที่ 2  
              สอบปลายภาคเรียน เดือนกุมภาพันธ์
              สอบซ่อม เดือนมีนาคม
            (สอบในวันเสาร์และวันอาทิตย์)
            (ทั้งนี้กำหนดการดังกล่าว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่สถานศึกษากำหนด)

เกณฑ์การจบหลักสูตร
             1. ผ่านหมวดวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 8 หมวดวิชา
             2. ผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 100 ชม.
             3. ผ่านการเข้าร่วมสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
             4. ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
             5. ผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 
             1.  กิจกรรมในระหว่างภาคเรียน  (ไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง)  แบ่งเป็น
                 1.1  กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว (ไม่เกิน 60 ชั่วโมง)  เช่น  การอบรมหรือการเรียน 
                         คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ  ฯลฯ  ซึ่งมีวุฒิบัตร เกียรติบัตร  หรือหนังสือรับรอง
1.2  กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน (ไม่เกิน 60 ชั่วโมง)   ได้แก่ 
-  การทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  และประเพณี 
-  กิจกรรมพัฒนาชุมชน  สังคม  และสิ่งแวดล้อม
-  กิจกรรมสนับสนุนงานการศึกษานอกโรงเรียน
นักศึกษาจะต้องทำกิจกรรม 2 ประเภท  รวมกันไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง

            2.  การสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตก่อนจบหลักสูตร  (3 วัน 2 คืน)  มีการทำกิจกรรม
                   พัฒนาคุณภาพชีวิตในระหว่างการสัมมนาฯ   (20 ชั่วโมง)
         นักศึกษาคนใดไม่ทำกิจกรรม กพช. หรือทำไม่ครบทั้ง 2 ประเภท ไม่สามารถจบหลักสูตร

การสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตก่อนจบหลักสูตร
            1.  นักศึกษาทุกคนต้องเข้าลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาฯ ในภาคเรียนสุดท้ายในแต่ละระดับ
            2.  นักศึกษาคนใดไม่ลงทะเบียน และผ่านการสัมมนาฯ จะไม่สามารถจบหลักสูตร
            3.  นักศึกษาจะต้องเสียเงินค่าลงทะเบียนสัมมนาฯ
            4.  เวลาในการสัมมนาฯ  3 วัน 2 คืน
            5.  สถานที่สัมมนาฯ   สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนด

การเทียบโอนผลการเรียน
         1.   วิธีการเทียบโอนผลการเรียน
                   -  เทียบโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                   -  เทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์หมวดวิชาต่าง ๆ

         2.  หลักฐานที่นำมาขอเทียบโอนผลการเรียน
                 -  ใบระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรในประเทศ และหลักสูตรต่างประเทศ
                 -  หลักฐานการศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศ
                 -  สมุดประจำตัวทหารกองหนุน หรือหนังสือรับรองการปลดประจำการจากบังคับหน่วยทหาร            
                 -  บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข หรือหนังสือรับรอง (ในกรณีที่เคยเป็น อสม.)
                 -  หลักฐานที่แสดงว่าเป็น หรือเคยเป็นผู้นำท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น    
                 -  วุฒิบัตรแสดงผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติทางด้านช่างอุตสาหกรรม 
                    พร้อมหลักฐานคะแนนผลการประเมินจากการทดสอบ

การประเมินความรู้และประสบการณ์หมวดวิชา
เป็นการนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ตนเองมีอยู่แล้ว  มาขอรับการประเมินเพื่อเทียบเป็นผลการเรียนของหมวดวิชาต่าง ๆ
ความรู้และประสบการณ์  หมายถึง  สิ่งที่ได้สั่งสมจากการเรียนรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติที่เกิดจากการประกอบอาชีพ  จากประสบการณ์ทำงานที่สะท้อนถึงกระบวนการทำงานและการพัฒนาอาชีพ  การฝึกอาชีพ  การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการดำเนินชีวิต  และศึกษาเรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ

         ระดับที่เปิดรับการประเมินฯ
              -  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
              -  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

         หมวดวิชาที่เปิดรับการประเมินฯ
              -  ภาษาอังกฤษ                   
              -  พัฒนาสังคมและชุมชน
              -  พัฒนาทักษะชีวิต 1         
              -  พัฒนาทักษะชีวิต 2
              -  พัฒนาอาชีพ

        วันเปิดรับการประเมิน

            ภาคเรียนที่ 1   เดือนกรกฎาคม       

          ภาคเรียนที่ 2   เดือนธันวาคม


เกณฑ์การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐานวิธีเรียนทางไกล
 กศน.อำเภอกำแพงแสน   สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม

************************

สำนักงาน กศน. มีนโยบายที่จะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐานของสำนักงาน กศน. โดยกำหนดวันและเวลาในการสอบรวมทั้งให้ใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคชุดเดียวกันทั่วประเทศ เริ่มในภาคเรียนที่ 2/2551 และเนื่องจากการวัดผล ประเมินผลของวิธีเรียนทางไกล กำหนดให้มีทั้งข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัย เพื่อวัดและประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดแนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานวิธีเรียนทางไกล ดังนี้
กำหนดค่าคะแนนการสอบปลายภาค คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น
1. ข้อสอบปรนัย ค่าคะแนน 40 คะแนน เกณฑ์การตัดสินให้ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 (ไม่ต่ำกว่า 20 คะแนน) หากไม่ผ่านต้องสอบซ่อมแล้วนำคะแนนมารวมกับคะแนนข้อสอบอัตนัยที่มีคะแนนเกินร้อยละ 50 ที่มีอยู่
2. ข้อสอบอัตนัย ค่าคะแนน 60 คะแนน โดยให้นักศึกษาเขียนด้วยลายมือของตัวเอง เกณฑ์การตัดสินให้ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 (ไม่ต่ำกว่า 30 คะแนน) หากไม่ผ่านต้องทำข้อสอบอัตนัยใหม่ พร้อมตรวจให้คะแนนให้เรียบร้อยก่อนประกาศผลสอบซ่อม แล้วนำคะแนนไปรวมกับข้อสอบปรนัยเดิม
3. การตัดสินให้สอบได้ หรือตก ต้องนำคะแนนของทั้งปรนัย และอัตนัย มารวมกัน เกณฑ์ตัดสินให้ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของทั้งสองส่วนไม่น้อยกว่า 50 คะแนน จึงถือว่าสอบผ่าน โดยยึดเกณฑ์วัดผลการประเมินผลตามวิธีเรียนทางไกล
4. การตัดสินผลการสอบซ่อมในกรณีสอบไม่ผ่าน ทั้งข้อสอบปรนัยและ/หรือข้อสอบอัตนัยให้ค่าผลการเรียนเท่ากับ 1 หากสอบซ่อมตกให้ลงทะเบียนเรียนใหม่

****************************************

                                                                                
                                                                     กศน.อำเภอกำแพงแสน สำนักงาน กศน.จังหวัดนครปฐม
                                                                     โทร. 034-282364
                                                                     โทรสาร. 034-282364
                                                                     E mail : pppotong@gmeil.com